แนวทางการดำเนินงาน

     การจัดการศึกษาของชุมชนการเรียนรู้ “สมเด็จย่า” จัดได้ว่าเป็นการจัดการศึกษาแนวใหม่ที่ยังไม่เป็นที่คุ้นเคย ชุมชนการเรียนรู้ฯ จึงได้กำหนดหลักการในการดำเนินงานไว้ดังนี้

1. กำหนดให้ชุมชนการเรียนรู้ “สมเด็จย่า” เป็นสถานศึกษา และพัฒนารูปแบบ การจัดการศึกษาที่ เหมาะสมสอดคล้องกับวิถีชีวิตของผู้เรียนและชุมชน

2. จัดการศึกษา โดยยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ให้ผู้เรียนเรียนรู้จากสภาพจริง การปฏิบัติจริง เรียนรู้และทำงานไปพร้อมกันตามแนวพระราชดำริ “เศรษฐกิจพอเพียง” ผู้เรียนและชุมชนมีส่วนร่วมกันในการจัดกิจกรรม และมุ่งเน้นการพึ่งพาตนเองเป็นหลัก

 

    กลุ่มผู้เรียนเป็นผู้ด้อยโอกาสทางการศึกษาที่จบการศึกษาตามหลักสูตรประถมศึกษาจากศูนย์การเรียนชุมชนชาวไทยภูเขา “แม่ฟ้าหลวง” ซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวไทยภูขาที่ด้อยและขาดโอกาสทางการศึกษาต่อ ด้วยข้อจำกัดทางสภาพภูมิประเทศที่ห่างไกลทุรกันดาร การคมนาคมไม่สะดวกและข้อจำกัดอื่นๆ จึงจัดให้ผู้เรียนเข้าพักอาศัยเรียนรู้ในลักษณะประจำ

 

หลักสูตรและการจัดกิจกรรมการเรียนรู้

     หลักสูตรสำหรับระดับมัธยมศึกษาตอนต้นใช้หลักสูตรการเรียนรู้ของชุมชนการเรียนรู้สมเด็จย่า จัดทำโดยสำนัก บริหารงานการศึกษานอกโรงเรียน และอนุมัติโดยสำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงศึกษาธิการ ส่วนหลักสูตร มัธยมตอนปลายใช้หลักสูตรประกาศนียบัตรอาชีพ

การจัดการเรียนรู้ใช้แนวความคิดและทฤษฎีประกอบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้หลักๆ ดังนี้ ...

1. การจัดการเรียนรู้ โดยยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง (Learner Center)

2. การเรียนรู้แบบบูรณาการให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตและปัญหาของชุมชน

3. เรียนรู้จากการกระทำ เน้นการปฏิบัติจริงจากสถานการณ์จริง เช่น การเรียนรู้และทำงานไปพร้อมกัน ตาม แนวพระราชดำริ “เศรษฐกิจพอเพียง”

ใช้กระบวนการมีส่วนร่วม (Participation) ในการจัดกระบวนการเรียนรู้ รวมทั้งเปิดโอกาสให้ประชาชน บริเวณรอบชุมชนการเรียนรู้ฯ ได้มีส่วนร่วมในการเรียนรู้

4. จัดและบริหารกิจกรรมการเรียนรู้ในลักษณะโครงการ (Project based) ให้ผู้เรียน ได้คิด ได้ทำ และทบทวน ตนเองอย่างสม่ำเสมอ ใช้เครือข่ายการเรียนรู้ในการแสวงหาความรู้ ถ่ายทอดและเชื่อมโยงเทคโนโลยีกับวิถีชีวิต

5. จัดการเรียนรู้โดยคำนึงถึงการอนุรักษ์ขนบธรรมเนียม ประเพณีที่ดีงามของชุมชน ตลอดจนการจัดการเรียนรู้ให้รู้จักรักษาสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ